เป็นไข้
การดูแลรักษาตนเองเมื่อเป็นไข้ ( Fever )
เป็นไข้ ( Fever ) การดูแลรักษาตนเองเมื่อเป็นไข้
อาการเป็นไข้
เราจะรู้สึกร้อน มีเหงื่อออก และมีอาการหนาวสั่นได้ในบางครั้งโดยจะมีไข้และอุณหภูมิสูงกว่า 37.8 C การที่อุณหภูมิสูงขึ้นนี้ มักเป็นการชี้ว่าร่างกายเรากำลังต่อสู้กับการติดเชื้อ ทั้งนี้อาการไข้อาจอาจเกิดจากการอักเสบ การบาดเจ็บหรือเป็นปฏิกิริยาจากการใช้ยาก็ได้ เนื่องจากโดยทั่วไป การมีไข้มักเป็นปฏิกิริยาที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย เราจึงอาจไม่ต้อง “ต่อสู้” กับอาการไข้ก็ได้ อย่างไรก็ตามต้องระวังภาวะขาดน้ำซึ่งเป็นภาวะแทรกซ้อนของอาการไข้ซึ่งอาจเกิดจากการเสียน้ำมากเกินไปได้
กำลังเกิดอะไรขึ้น
อาการไข้เป็นภาวะที่ร่างกายต่อสู้กับการติดเชื้อ โดยการทำให้สภาวะแวดล้อมไม่เหมาะกับการเจริญของเชื้อแบคทีเรียและไวรัส สารเคมีที่ถูกหลั่งออกมาในกระแสเลือดขณะที่เกิดการติดเชื้อจะส่งสัญญาณไปยัง “ศูนย์ควบคุมอุณหภูมิ” ในสมองทำให้เกิดความร้อนขึ้น กล้ามเนื้อจะเกิดสั่นกระตุกขึ้นเพื่อสร้างความร้อน เราอาจรู้สึกหนาวสะท้านจนต้องหาอะไรมาห่ม หรืออาจมีการสูญเสียน้ำปริมาณมากได้จาการมีเหงื่อออก ซึ่งทำให้อุณหภูมิร่างกายลดลง หลังจากนั้นอาการไข้จะหาย
การประเมินอาการ
วัตถุประสงค์ของการประเมินอาการ ก็เพื่อให้ทราบว่าเรามีอาการขาดน้ำ หรือมีไข้สูงเกินไปจนอาจเป็นอันตรายหรือไม่ ซึ่งหากเป็นอันตรายเช่นนั้นเราต้องได้รับการดูแลจากแพทย์
มีไข้หรือไม่
สะบัดปรอทวัดไข้ให้ปรอทลงไปอยู่ต่ำสุด อมใต้ลิ้น 3 นาทีแล้วอ่านผล ถ้ามีไข้สูงเกิน 39.4 C ขึ้นไป ควรพบแพทย์ทันที
ขาดน้ำหรือไม่
อาการของการขาดน้ำ ได้แก่ การกระหายน้ำมาก ปัสสาวะน้อย หรือสีเข้มมาก เวียนศรีษะ ปากแห้งมาก ความยืดหยุนของผิวหนังลดลง ควรพบแพทย์ทันที
การดูแลรักษาตนเองเพื่อบรรเทาอาการ
เนื่องจากอาการเป็นไข้เป็นสิ่งที่มีประโยชน์ต่อร่างกายในการต่อสู้กับเชื้อโรค และเป็นกระบวนการรักษาตัวเองของร่างกายตามธรรมชาติ ดังนั้นสำหรับผู้ใหญ่ที่แข็งแรงทั่วไปอาจไม่จำเป็นต้องลดไข้ เว้นแต่จะรู้สึกไม่สบายตัวมาก แต่ควรระวังในเด็กทารก ผู้สูงอายุ ผู้ที่เป็นโรคหัวใจหรือปอด และในสตรีมีครรภ์ ควรจะทำให้ไข้ลดเพื่อหลีกเลี่ยงการเสียงต่อการสูญเสียน้ำมากเกินไป ซึ่งจะทำให้เกิดอันตรายต่อร่างกายได้ ทั้งนี้เป้าหมายของการดูแลรักษาตนเองในการบรรเทาอาการไข้ก็เพื่อป้องกันภาวะขาดน้ำ และช่วยลดอาการไม่สบายตัวถ้าหากจำเป็น
ควรปรึกษาแพทย์เมื่อ
• ไข้สูงเกิน 39.4 C ขึ้นไป
• มีไข้ร่วมกับผื่น ปวดศรีษะอย่างมาก และคอแข็งกระวนกระวายหรือสับสนมาก ไอมีเสมหะสีน้ำตาล/เขียว มีอาการปวดผิดปกติขณะปัสสาวะ ปวดท้อง ปวดหลังมาก
• มีอาการขาดน้ำ
• มีไข้หลังจากรับประทานยาบางชนิด
อาการเป็นไข้
เราจะรู้สึกร้อน มีเหงื่อออก และมีอาการหนาวสั่นได้ในบางครั้งโดยจะมีไข้และอุณหภูมิสูงกว่า 37.8 C การที่อุณหภูมิสูงขึ้นนี้ มักเป็นการชี้ว่าร่างกายเรากำลังต่อสู้กับการติดเชื้อ ทั้งนี้อาการไข้อาจอาจเกิดจากการอักเสบ การบาดเจ็บหรือเป็นปฏิกิริยาจากการใช้ยาก็ได้ เนื่องจากโดยทั่วไป การมีไข้มักเป็นปฏิกิริยาที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย เราจึงอาจไม่ต้อง “ต่อสู้” กับอาการไข้ก็ได้ อย่างไรก็ตามต้องระวังภาวะขาดน้ำซึ่งเป็นภาวะแทรกซ้อนของอาการไข้ซึ่งอาจเกิดจากการเสียน้ำมากเกินไปได้
กำลังเกิดอะไรขึ้น
อาการไข้เป็นภาวะที่ร่างกายต่อสู้กับการติดเชื้อ โดยการทำให้สภาวะแวดล้อมไม่เหมาะกับการเจริญของเชื้อแบคทีเรียและไวรัส สารเคมีที่ถูกหลั่งออกมาในกระแสเลือดขณะที่เกิดการติดเชื้อจะส่งสัญญาณไปยัง “ศูนย์ควบคุมอุณหภูมิ” ในสมองทำให้เกิดความร้อนขึ้น กล้ามเนื้อจะเกิดสั่นกระตุกขึ้นเพื่อสร้างความร้อน เราอาจรู้สึกหนาวสะท้านจนต้องหาอะไรมาห่ม หรืออาจมีการสูญเสียน้ำปริมาณมากได้จาการมีเหงื่อออก ซึ่งทำให้อุณหภูมิร่างกายลดลง หลังจากนั้นอาการไข้จะหาย
การประเมินอาการ
วัตถุประสงค์ของการประเมินอาการ ก็เพื่อให้ทราบว่าเรามีอาการขาดน้ำ หรือมีไข้สูงเกินไปจนอาจเป็นอันตรายหรือไม่ ซึ่งหากเป็นอันตรายเช่นนั้นเราต้องได้รับการดูแลจากแพทย์
มีไข้หรือไม่
สะบัดปรอทวัดไข้ให้ปรอทลงไปอยู่ต่ำสุด อมใต้ลิ้น 3 นาทีแล้วอ่านผล ถ้ามีไข้สูงเกิน 39.4 C ขึ้นไป ควรพบแพทย์ทันที
ขาดน้ำหรือไม่
อาการของการขาดน้ำ ได้แก่ การกระหายน้ำมาก ปัสสาวะน้อย หรือสีเข้มมาก เวียนศรีษะ ปากแห้งมาก ความยืดหยุนของผิวหนังลดลง ควรพบแพทย์ทันที
การดูแลรักษาตนเองเพื่อบรรเทาอาการ
เนื่องจากอาการเป็นไข้เป็นสิ่งที่มีประโยชน์ต่อร่างกายในการต่อสู้กับเชื้อโรค และเป็นกระบวนการรักษาตัวเองของร่างกายตามธรรมชาติ ดังนั้นสำหรับผู้ใหญ่ที่แข็งแรงทั่วไปอาจไม่จำเป็นต้องลดไข้ เว้นแต่จะรู้สึกไม่สบายตัวมาก แต่ควรระวังในเด็กทารก ผู้สูงอายุ ผู้ที่เป็นโรคหัวใจหรือปอด และในสตรีมีครรภ์ ควรจะทำให้ไข้ลดเพื่อหลีกเลี่ยงการเสียงต่อการสูญเสียน้ำมากเกินไป ซึ่งจะทำให้เกิดอันตรายต่อร่างกายได้ ทั้งนี้เป้าหมายของการดูแลรักษาตนเองในการบรรเทาอาการไข้ก็เพื่อป้องกันภาวะขาดน้ำ และช่วยลดอาการไม่สบายตัวถ้าหากจำเป็น
ควรปรึกษาแพทย์เมื่อ
• ไข้สูงเกิน 39.4 C ขึ้นไป
• มีไข้ร่วมกับผื่น ปวดศรีษะอย่างมาก และคอแข็งกระวนกระวายหรือสับสนมาก ไอมีเสมหะสีน้ำตาล/เขียว มีอาการปวดผิดปกติขณะปัสสาวะ ปวดท้อง ปวดหลังมาก
• มีอาการขาดน้ำ
• มีไข้หลังจากรับประทานยาบางชนิด
*ผมได้ค้นหาคำว่า "เป็นไข้" เมื่อกระผมเองได้เป็นไข้และต้องดูแลตัวเอง จึงทำให้รู้ว่าควรจะมีใครสักคนดูแลเอาใจในเวลาที่ไม่สบาย
ขอบคุณข้อมูลที่เป็นประโยชน์
http://www.nmd.go.th/preventmed/self/commoncold.html