มะม่วงหาวมะนาวโห่ (Carissa)
ชื่อวิทยาศาสตร์ :Carissa carandaslinn.
วงศ์ : Apocynaceae
อาณาจักร : Plantae
สกุล : Carissa
สปีชีส์: C. carandas

มีชื่อเรียกอื่นๆ 
มะนาวไม่รู้โห่ ( ภาคตะวันออก)มะนาวโห่ ( ภาคใต้)หนามขี้แฮด (เชียงใหม่ )หนามแดง ( กรุงเทพ)

จากข้อมูลส่วนหนึ่งระบุว่าผลไม้ดังกล่าวในเรื่องนี้ก็คือ ‘มะม่วงไม่รู้หาว มะนาวไม่รู้โห่’ หรือบางแห่งเรียกว่า ‘มะม่วงรู้หาว มะนาวรู้โห่’ ซึ่งเป็นพืชชนิดเดียวกันคือ ‘หนามแดง’ ในปัจจุบัน (แต่บางแห่งก็บอกว่าคือ ‘มะม่วงไม่รู้หาว มะนาวไม่รู้โห่’ ซึ่งเท่ากับเป็นพืชสองชนิด และมะม่วงก็มีลักษณะคล้ายมะนาวแต่ลูกใหญ่กว่า) 
มะม่วงไม่รู้หาว เป็นชื่อพ้องของมะม่วงหิมพานต์ มีชื่อวิทยาศาตร์ว่า Anacardium occidaenate L. จัดอยู่ในวงค์ Anacardiaceae
ผลสุกมะม่วงไม่รู้หาว รสเหมือนมะม่วงสุก ผลสุกมะนาวไม่รู้โห่ รสเหมือนเปลือกมะนาวดองเค็มตากแห้ง
ลักษณะทั่วไป

ลำต้น
เป็นไม้พุ่มยืนต้น สูงราว 2-5 เมตร ตามลำต้น
กิ่งก้านมียางสีขาว และมีหนามแหลมยาว
ใบเป็นใบเดี่ยว รูปไข่กลับ เรียงตรงข้าม ขอบใบเรียบ ผิวใบมัน เนื้อใบ เรียบ
มีลักษณะดอกเล็กสีขาวออกเป็นช่อตามซอกใบและปลายกิ่ง โคนดอกมีสีชมพูหรือแดงอ่อน และมีกลิ่นหอมอ่อนๆ ออกดอกตลอดปี
ส่วนผลเป็นผลเดี่ยวออกรวมกันเป็นช่อ ผลอ่อนจะมีสีชมพูอ่อนๆ และค่อยๆ เข้มขึ้นเป็นสีแดง กระทั่งสุกจึงกลายเป็นสีดำ
ผลเมื่อผ่าออกแช่น้ำเกลือเข้มๆ ไว้คืนหนึ่ง นำไปแช่ต่อด้วยน้ำเชื่อม จะมีรสชาติ เปรี้ยวๆ หวานๆ กรอบ กรุบๆ
ถ้ารับประทาน มะนาวโห่ และตามด้วยมะนาวลงไป จะทำให้มะนาวโห่หวานลิ้น อร่อยมาก

พระรถ- เมรี จาก นางสิบสอง ที่เกี่ยวข้องกับผลไม้ในวรรณคดี
ผล มะม่วงไม่รู้หาว มะนาวไม่รู้โห่ ซึ่งนักวิชาการส่งเสริมการเกษตร ได้เรียกชื่อผลไม้ชนิดนี้ให้สอดคล้องกับผลไม้ในวรรณคดีไทย เรื่องนางสิบสองตอน พระรถเมรี เนื่องจากทานผลสดแล้ว รสชาติจะเปรี้ยวมาก หากรู้สึกง่วงนอน จะรู้สึกกระชุ่มกระชวยและตื่นตัวขึ้นมาทันที แต่ปัจจุบัน เกษตรกรเรียกชื่อสั้นลง กลายเป็น"มะม่วงหาวมะนาวโห่"แทน ปัจจุบันผู้บริโภคเริ่มรู้จัก และต้องการผลมะม่วงหาว มะนาวโห่ มากขึ้น เพราะทางวิชาการระบุว่ามีประโยชน์ต่อร่างกาย สามารถต้านทานอาการหวัดได้ดี วงการแพทย์ได้นำไปใช้รักษาโรคควบคู่กับยาแผนปัจจุบัน

สรรพคุณทางยาสมุนไพร
-ราก ใช้บำรุงธาตุ ขับพยาธิ ทำให้เจริญอาหาร  บำรุงกระเพาะอาหาร ดับพิษร้อน แก้ไข้ รักษาบาดแผล  แก้คัน

-ใบ ใช้แก้ท้องร่วง เจ็บคอ แก้ปวดหู,  เจ็บในปาก  แก้ไข้

-ผล มีรสเปรี้ยว คล้ายมะนาว ใช้แก้ไอ แก้โรคลักปิดลักเปิด แก้ท้องเสีย แก้เจ็บคอ และช่วยขับเสมหะ  ฆ่าเชื้อ ขับปัสสาวะ พอกดับพิษ ฝาดสมาน


- เมล็ด แก้กลากเกลื้อน แก้เนื้อหนังชาในโรคเรื้อน แก้โรคผิวหนัง แก้ตาปลา แก้เนื้องอก บำรุงไขข้อ บำรุงกระดูก บำรุงเส้นเอ็น บำรุงกำลัง บำรุงผิวหนัง

- เปลือก แก้บิด ขับน้ำเหลืองเสีย แก้ท้องเสีย แก้กามโรค ทำยาอมรักษาแผลในปาก แก้ปวดฟัน พอกดับพิษ

- ยอดอ่อน รักษาริดสีดวงทวาร

- ยาง ทำลายตาปลา กัดทำลายเนื้อที่ด้านเป็นปุ่มโต แก้เลือดออกตามไรฟัน รักษาหูด รักษาขี้กลาก แผลเนื้องอก โรคเท้าช้าง

- น้ำมัน ฆ่าเชื้อ ทาถูนวดให้ร้อนแดง ยาชา รักษาโรคเรื้อน กัดหูด แก้ตาปลา แก้บาดแผลเน่าเปื่อย
สรรพคุณทางยาสมุนไพรพบว่า

- แก่น บำรุงไขมันในร่างกาย บำรุงธาตุ ทำให้ร่างกายแข็งแรง

-เนื้อไม้ บำรุงไขมันในร่างกาย บำรุงธาตุ แก่อ่อนเพลีย บำรุงกำลัง



            ขอบคุณข้อมูลจาก http://www.medplant.mahidol.ac.th