ดอกอัญชัน
อัญชัน สมุนไพรชะลอความแก่ ให้สีแต่งสีอาหาร Blue Pea, Butterfly Pea
อัญชัน ; Blue Pea, Butterfly Pea
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: พืช (Plantae)
ดิวิชั่น: Magnoliophyta
ชั้น: Magnoliopsida
อันดับ: Fabales
วงศ์: Fabaceae
วงศ์ย่อย: Faboideae
เผ่า: Cicereae
สกุล: Clitoria
สปีชีส์: Clitoria ternatea
ชื่อทวินาม Clitoria ternatea-L.
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Clitoria ternatea L.
ชื่อสามัญ : Blue Pea, Butterfly Pea
วงศ์ : LEGUMINOSAE-PAPILIONOIDEAE
สารเคมี : anthocyanin
ชื่ออื่น : แดงชัน (เชียงใหม่); อัญชัน (ภาคกลาง); เอื้องชัน (ภาคเหนือ)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :
ไม้ล้มลุกเลื้อยพัน ยาว 1-5 เมตร ใบประกอบแบบขนนก เรียงสลับ ใบย่อย 3-9 ใบ รูปรีแกมขอบขนานหรือรูปรีแกมไข่กลับ กว้าง 1-3 ซม. ยาว 2-5 ซม. ดอกเดี่ยว ออกที่ซอกใบ กลีบดอกรูปดอกถั่ว สีน้ำเงิน ม่วงหรือขาว ตรงกลางกลีบสีเหลืองหม่นขอบสีขาว ผลเป็นฝัก รูปดาบ โค้งเล็กน้อย ปลายเป็นจะงอย แตกเป็น 2 ฝา เมล็ดรูปไต จำนวน 6-10 เมล็ด ลำต้นมีขนนุ่ม มีถิ่นกำเนิดในอเมริกาใต้ ปลูกได้ทั่วไปในเขตร้อน
การกระจายพันธุ์
อัญชันมีถิ่นกำเนิดในแถบเอเชียเขตร้อน ก่อนจะถูกนำไปแพร่พันธุ์ในแอฟริกา ออสเตรเลีย และอเมริกา
อัญชันในวรรณคดี
ในสมัยก่อนหญิงสาวมักนำอัญชันมาเขียนคิ้วให้ดำขลับ ซึ่ง นิราศธารโศก และ มหาชาติคำหลวง ได้เปรียบเทียบคิ้วหญิงนั้นงามราวดอกอัญชัน
สรรพคุณ
-ดอก สกัดสีมาทำสีผสมอาหาร ช่วยปลูกผมทำให้ผมดำขึ้น
-เมล็ด เป็นยาระบาย
-ราก บำรุงตาแก้ตาฟาง ถูฟันแก้ปวดฟัน ตาแฉะ นำรากมาถูกับน้ำฝนใช้หยอดหูและหยอดตา
-รากปรุงเป็นยาขับปัสสาวะ
-รากต้นอัญชันดอกสีขาวใช้เป็นยาขับปัสสาวะ ยาระบาย
ส่วนที่ใช้ :
-กลีบดอกสดสีน้ำเงิน จากต้นอัญชันดอกสีน้ำเงิน
-รากของต้นอัญชันดอกขาว
วิธีใช้ :
-ดอกสีน้ำเงิน ใช้เป็นสีแต่งอาหาร ขนม
-ใช้กลีบดอกสด ตำเติมน้ำเล็กน้อย กรองด้วยผ้าขาวบาง คั้นเอาน้ำออก จะได้น้ำสีน้ำเงิน (Anthocyanin) -ใช้เป็น indicator แทน lithmus
-ถ้าเติมน้ำมะนาวลงไปเล็กน้อย จะกลายเป็นสีม่วง ใช้แต่งสีอาหารตามต้องการ มักนิยมใช้แต่งสีน้ำเงินของขนมเรไร ขนมน้ำดอกไม้ ขนมขี้หนู
อาณาจักร: พืช (Plantae)
ดิวิชั่น: Magnoliophyta
ชั้น: Magnoliopsida
อันดับ: Fabales
วงศ์: Fabaceae
วงศ์ย่อย: Faboideae
เผ่า: Cicereae
สกุล: Clitoria
สปีชีส์: Clitoria ternatea
ชื่อทวินาม Clitoria ternatea-L.
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Clitoria ternatea L.
ชื่อสามัญ : Blue Pea, Butterfly Pea
วงศ์ : LEGUMINOSAE-PAPILIONOIDEAE
สารเคมี : anthocyanin
ชื่ออื่น : แดงชัน (เชียงใหม่); อัญชัน (ภาคกลาง); เอื้องชัน (ภาคเหนือ)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :
ไม้ล้มลุกเลื้อยพัน ยาว 1-5 เมตร ใบประกอบแบบขนนก เรียงสลับ ใบย่อย 3-9 ใบ รูปรีแกมขอบขนานหรือรูปรีแกมไข่กลับ กว้าง 1-3 ซม. ยาว 2-5 ซม. ดอกเดี่ยว ออกที่ซอกใบ กลีบดอกรูปดอกถั่ว สีน้ำเงิน ม่วงหรือขาว ตรงกลางกลีบสีเหลืองหม่นขอบสีขาว ผลเป็นฝัก รูปดาบ โค้งเล็กน้อย ปลายเป็นจะงอย แตกเป็น 2 ฝา เมล็ดรูปไต จำนวน 6-10 เมล็ด ลำต้นมีขนนุ่ม มีถิ่นกำเนิดในอเมริกาใต้ ปลูกได้ทั่วไปในเขตร้อน
การกระจายพันธุ์
อัญชันมีถิ่นกำเนิดในแถบเอเชียเขตร้อน ก่อนจะถูกนำไปแพร่พันธุ์ในแอฟริกา ออสเตรเลีย และอเมริกา
อัญชันในวรรณคดี
ในสมัยก่อนหญิงสาวมักนำอัญชันมาเขียนคิ้วให้ดำขลับ ซึ่ง นิราศธารโศก และ มหาชาติคำหลวง ได้เปรียบเทียบคิ้วหญิงนั้นงามราวดอกอัญชัน
สรรพคุณ
-ดอก สกัดสีมาทำสีผสมอาหาร ช่วยปลูกผมทำให้ผมดำขึ้น
-เมล็ด เป็นยาระบาย
-ราก บำรุงตาแก้ตาฟาง ถูฟันแก้ปวดฟัน ตาแฉะ นำรากมาถูกับน้ำฝนใช้หยอดหูและหยอดตา
-รากปรุงเป็นยาขับปัสสาวะ
-รากต้นอัญชันดอกสีขาวใช้เป็นยาขับปัสสาวะ ยาระบาย
ส่วนที่ใช้ :
-กลีบดอกสดสีน้ำเงิน จากต้นอัญชันดอกสีน้ำเงิน
-รากของต้นอัญชันดอกขาว
วิธีใช้ :
-ดอกสีน้ำเงิน ใช้เป็นสีแต่งอาหาร ขนม
-ใช้กลีบดอกสด ตำเติมน้ำเล็กน้อย กรองด้วยผ้าขาวบาง คั้นเอาน้ำออก จะได้น้ำสีน้ำเงิน (Anthocyanin) -ใช้เป็น indicator แทน lithmus
-ถ้าเติมน้ำมะนาวลงไปเล็กน้อย จะกลายเป็นสีม่วง ใช้แต่งสีอาหารตามต้องการ มักนิยมใช้แต่งสีน้ำเงินของขนมเรไร ขนมน้ำดอกไม้ ขนมขี้หนู
ขอบคุณข้อมูลจากวิกิพีเดีย