ดอกแค (Agasta)
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Plantae
ดิวิชั่น: Magnoliophyta
ชั้น: Magnoliopsida
อันดับ: Fabales
วงศ์: Fabaceae
วงศ์ย่อย: Faboideae
เผ่า: Robinieae
สกุล: Sesbania
สปีชีส์: S. grandiflora
ชื่อทวินาม Sesbania grandiflora (L.) Poiret
แค (Agasta) เป็นต้นไม้ขนาดเล็กในสกุลโสน มีชื่อพื้นเมืองอื่นอีกดังนี้
แคบ้าน (กลาง) แคขาว แคแดง (กทม. เชียงใหม่) แค (กลาง) แคดอกแดง แคดอกขาว

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
แคเป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็กสูงประมาณ 3-10 เมตร เปลือกเป็นสีน้ำตาลเข้ม มีรอยขรุขระหนา ใบประกอบแบบขนนกเรียงสลับ ใบย่อยมีขนาดเล็กรูปขอบขนาน ขอบใบเรียบ ปลายใบมนกว้าง ดอกคล้ายดอกถั่ว ออกดอกแบบช่อตรงซอกใบ มีสีขาว ผลมีลักษณะเป็นฝักกลมยาว 30-50 เซนตริเมตร สีเขียวอ่อน ใช้รับประทานเป็นอาหารได้ เมล็ดมีลักษณะเหมือนลิ่ม ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด

การกระจายพันธุ์
เชื่อกันว่ามีถิ่นกำเนิดจากประเทศอินเดียหรือเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และเจริญเติบโตไปทั่วโลกในเขตร้อนชื้น

การใช้ประโยชน์
ยอดอ่อนและใบอ่อนสามารานำมาปรุงอาหารได้ เป็นสมุนไพรช่วยดับพิษร้อนถอนพิษไข้ ดอกใช้เป็นอาหาร แก้ไข้หัวลม และช่วยบำรุงอาหาร ฝักอ่อนใช้เป้นอาหารได้

การเกษตร
แคเป็นต้นไม้พื้นบ้าน เป็นไม้เนื้ออ่อน นิยมปลูกเป็นรั้วบ้าน คันนา และริมถนน ปลูกได้ในทุกพื้ที่ทั้งดินเหนียว ดินร่วน สามารถปลูกไว้ในบริเวณบ้านเพื่อปรับพื้นที่ให้มีปุ๋ย เนื่องจากใบแคที่ผุแล้วทำให้ดินอุดมสมบูรณ์ เมื่อแก่จะแพร่พันธุ์ด้วยฝักที่มีเมล็ดแก่จัด เติบโตได้ มีอายุไม่นาน จะยืนต้นตาย

ประกอบอาหาร
ส่วนที่นำมารับประทานได้ของแค คือ ยอดอ่อน ฝักอ่อนออกในช่วงฟดูฝน ใบอ่อนมีรสหวาน ดอกอ่อนออกในช่วงฤถูหนาว ดอกแคมีเส้นใยอาหาร แคลเซียม ฟอสฟอรัส เหล็ก แคโรทีน วิตามินเอ วิตามินบีหนึ่ง วิตามินบีสอง และวิตามินซี ก่อนนำไปทำอาหารต้องดึงเอาเกสรออกก่อนเพื่อลดความขม ส่วนที่รับประทานได้ของแคสามารถนำไปปรุงอาหารได้หลายอย่าง อาทิ เช่น แกงส้มดอกแค แกงเหลืองปลากระพงดอกแค ดอกใบยอกฝักอ่อนของแคนำมาลวกจิ้มน้ำพริกได้ ล้วนเป็นอาหารที่มีคุณค่าให้ประโยชน์ทั้งสิ้น

ยารักษาโรค
นำเปลือกแคมาต้ม คั้นน้ำรับประทานแก้ท้องร่วง แก้บิด แก้มูกเลือด
ดอกแคช่วยแก้ไข้ลดไข้ถอนพิษไข้
แคยังอุดมด้วยสารต่างๆ โดยเฉพาะบีตา-แคโรทีนที่ร่างกายสามารถเปลี่ยนเป็นวิตามินเอได้ จึงช่วยบำรุงสายตา ต่อต้านมะเร็ง และยังมีแคลเซียม, ฟอสฟอรัสสูง จึงช่วยเสริมสร้างกระดูก

ส่วนที่ใช้ : เปลือกต้น  ดอก  ใบสด  ยอดอ่อน

สรรพคุณ :

เปลือก  
- ต้มหรือฝนรับประทาน แก้โรคบิดมีตัว
- แก้มูกเลือด แก้ท้องเดิน ท้องร่วง คุมธาตุ
- ภายนอก ใช้ชะล้างบาดแผล

ดอก,ใบ
- รับประทานแก้ไข้เปลี่ยนอากาศ เปลี่ยนฤดู (แก้ไข้หัวลม)
ชาวอินเดีย ใช้สูดน้ำที่คั้นได้จากดอกหรือใบแคเข้าจมูกรักษาโรค ริดสีดวงในจมูก และทำให้มีน้ำมูกออกมา แก้ปวดและหนักศีรษะ ลดความร้อน ลดไข้

ใบสด 
- รับประทานใบแคทำให้ระบาย
- ใบแค ตำละเอียด พอกแก้ช้ำชอก

วิธีและปริมาณที่ใช้ :
แก้มูกเลือด บิดมีตัว แก้ท้องเดิน ท้องร่วง คุมธาตุ
ใช้เปลือกต้นปิ้งไฟ 1 ส่วน ต้มกับน้ำหรือน้ำปูนใส 10 ส่วน รับประทานครั้งละ 1-2 ช้อนแกง

แก้ไข้ ลดความร้อน แก้ไข้หัวลม (หรือไข้อากาศเปลี่ยน)
- ใบสด ต้มกับน้ำรับประทานลดไข้ ใช้ยอดอ่อนจำนวนไม่จำกัด ลวกจิ้มกับน้ำพริก รับประทานแก้ปวดศีรษะข้างเดียว
- ใช้ดอกที่โตเต็มที่ล้างน้ำ ต้มกับหมูทำบะช่อ 1 ชาม รับประทาน 1 มื้อ รับประทานติดต่อกัน 3-7 วัน จะได้ผล





ขอขอบคุณวิกิพีเดีย