โรคกระเพาะอาหารอักเสบ
    โรคกระเพาะ ถ้าจะใช้คำทางการแพทย์ที่ละเอียดขึ้นไป อาจจะต้องแบ่งออกเป็นกระเพาะอาหารอักเสบ กับเรื่องของแผลในกระเพาะอาหาร ซึ่งมีลักษณะอาการใกล้เคียงกัน โดยกระเพาะอาหารอักเสบอาจจะมีการอักเสบของผิวกระเพาะอาหาร ซึ่งอาจจะเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย จนในที่สุดทำให้เกิดเป็นแผลในกระเพาะอาหาร นอกจากนี้ยังมีปัจจัยอื่น ๆ ที่ทำให้เกิดโรคกระเพาะคือการ ดื่มแอลกอฮอล์มากเกินไป การใช้ยาแก้ปวดกลุ่ม NSAIDS
   การอักเสบของกระเพาะอาหาร ยังสามารถแบ่งออกได้เป็น การอักเสบแบบเฉียบพลันกับการอักเสบแบบเรื้อรัง ซึ่งจะนำไปสู่การเกิดแผลในกระเพาะอาหารและเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็งกระเพาะอาหารได้ แต่คนส่วนใหญ่จะมีอาการเพียงเล็กน้อยและรักษาหายในเวลาไม่นาน

อาการของกระเพาะอาหารอักเสบ
        -  มีอาการจุก แสบเสียด ร้อน หรือแน่น ๆ อาหารไม่ย่อย ที่บริเวณท้องส่วนบน หรือลิ้นปี่
        -  คลื่นไส้ อาเจียน
        -  ไม่อยากอาหาร
        -  มีลมเยอะ ท้องอืด
        -  รู้สึกจุกแน่นท้องมากเวลาทานอาหาร
        -  บางคนอาจมีอาการน้ำหนักลดลง

ข้อสังเกตุของอาการเริ่มเป็นกระเพาะอักเสบ
-เวลาตื่นนอนเช้า-มีอาการจุก แสบเสียด ร้อน หรือแน่นๆ ที่บริเวณท้องส่วนบน หรือลิ้นปี่ ปวดแน่นๆพร้อมๆกับช่วงปวดปัสสาวะตอนเช้า
-เวลาตื่นนอนเช้า-คลื่นใส้ อาเจียน เป็นประจำ เนื่องจากมีลมในกระเพาะมาก
-เวลาหิว-แสบเสียด ร้อน ปวด ที่บริเวณท้องส่วนบน หรือลิ้นปี่ เนื่องจากมีกรดมากเกินไป
-เวลาหลังทานอาหารเสร็จ-มีอาการจุก แน่น ๆ ที่บริเวณท้องส่วนบน หรือลิ้นปี่ เนื่องจากอาหารไม่ย่อย
-เวลาหลังทานอาหารเสร็จ-เมื่อทานน้ำเข้าไป จะรู้สึกอยากอาเจียน เหมือนมีลมดันกลับออกมา

       กระเพาะอาหารอักเสบเฉียบพลัน ส่วนใหญ่จะร่วมกับมีอาการคลื่นไส้อาเจียน ปวดแสบร้อนในท้อง ส่วนบน กระเพาะอาหารอักเสบเรื้อรัง จะรู้สึกแน่น ๆ จุก ๆ หรือไม่ค่อยอยากอาหาร ทานได้ไม่มากก็จะรู้สึกแน่นแต่ในบางรายอาจไม่มีอาการเลยก็ได้ ในบางครั้งจะมีอาการเลือดออกในกระเพาะอาหาร แต่พบได้น้อย ถ้ามีอาการเลือดออกในทางเดินอาหาร จะมีอุจจาระที่เป็นสีดำเหมือนถ่าน และไม่แข็งเป็นก้อน (ต่างจากคนที่รับประทานธาตุเหล็กเสริมซึ่งอุจจาระ จะดำเช่นกัน แต่แข็งเป็นก้อนตามปกติ) ซึ่งหากมีอาการนี้ เป็นลักษณะที่แสดงว่าต้องไปพบแพทย์เพื่อตรวจ โดยทันที หากมีอาการดังกล่าวเกินกว่าหนึ่งสัปดาห์ ควรพบแพทย์เพื่อตรวจและรับการรักษา แต่ถ้ามีอาการเลือดออก ทางเดินอาหาร ถ่ายดำ ถ่ายเป็นเลือด อาเจียนปนเลือด ควรพบแพทย์ทันที

สาเหตุ
ปกติที่ผิวของกระเพาะจะมี mucus เป็นมูกเป็นชั้นที่ช่วยป้องกันผิวของกระเพาจากกรด แต่ถ้าชั้นนี้ ถูกทำลายลง ผิวของกระเพาะก็จะเกิดการอักเสบ และเสียหายจากกรดในกระเพาะ

ปัจจัยที่ทำให้เกิดโรคกระเพาะได้แก่
        -  การติดเชื้อแบคทีเรีย Helicobacter pylori ในคนที่เป็นกระเพาะอาหารอักเสบเรื้อรัง พบว่ามีการติดเชื้อแบคทีเรียตัวนี้ ซึ่งเป็นเชื้อที่สามารถติดต่อกันระหว่างคนได้ โดยเชื้อตัวนี้จะทำลาย ชั้นผิวที่ป้องกันกระเพาะจากกรด โดยที่การสูบบุหรี่ หรือความเครียดมาก ๆ จะเป็นตัวกระตุ้นให้มีการ ทำลายผิวกระเพาะมากขึ้น พบว่าในคนที่มีอายุมากขึ้นก็จะยิ่งพบการติดเชื้อนี้สูงขึ้นด้วย
        -  การใช้ยาแก้ปวดในกลุ่ม Nonsteroidal anti-inflammatory drugs (NSAIDs)เช่น aspirin, ibuprofen (Advil, Nurofen), Ponstan, voltaren หรือ naproxen จะทำให้เกิดกระเพาะอาหารอักเสบได้หากมีการใช้ยากลุ่มนี้ต่อเนื่องเป็นเวลานาน หรือใช้ในปริมาณมาก เนื่องจากยากลุ่มนี้จะไปทำลายชั้นผิวของกระเพาะอาหารเช่นกัน
        -  การใช้แอลกอฮอล์ปริมาณมาก จะทำให้กิดการกัดทำลายกระเพาะ และทำให้มีกรดในกระเพาะมากกว่าปกติ
        -  ความเครียด
        -  น้ำดีไหลย้อน Bile reflux disease. น้ำดีถูกสร้างจากตับ และเก็บไว้ในถุงน้ำดี เมื่อน้ำดีออกมายังลำไส้ ส่วนต้น จะไม่ย้อนกลับเข้ามานกระเพาะ แต่ถ้ากล้ามเนื้อที่ปลายกระเพาะผิดปกติ จะทำให้มีการย้อนของน้ำ ดีเข้ามาในกระเพาะทำให้เกิดการอักเสบได้

ภาวะแทรกซ้อน
ถ้าหากเป็นโรคกระเพาะอาหารเรื้อรังและไม่ทำการรักษา อาจจะเสี่ยงทำให้เกิดแผลในกระเพาะอาหาร ทำให้มีเลือดออกในกระเพาะอาหาร และแผลในกระเพาะอาหารบางชนิดจะมีโอกาสที่จะกลายเป็นมะเร็งในกระเพาะอาหารได้ ดังนั้นหากทำการรักษากระเพาะอาหารอักเสบแล้วอาการยังไม่ดีขึ้นควรปรึกษาแพทย์เพื่อทำการตรวจ
เพิ่มเติมเช่นการส่องกล้องตรวจกระเพาะอาหาร หรือการตรวจดูการติดเชื้อ H pylori
การตรวจวินิจฉัย
ถึงแม้ว่าจะสามารถให้การวินิจฉัยได้จากประวัติ อาการ และการตรวจร่างกาย แต่ในบางครั้งแพทย์จำเป็นต้องทำการตรวจเพิ่มเติม เพื่อการวินิจฉัยและวางแผนการรักษาต่อไป
        -  การตรวจเลือด ในการตรวจเลือดจะสามารถตรวจหาการติดเชื้อแบคทีเรีย H. pylori ได้ โดยการตรวจหา antibodies ของเชื้อนี้ ถ้าตรวจพบภูมิแปลว่าเคยได้รับเชื้อตัวนี้มาก่อน การตรวจเลือดยังตรวจดูว่ามีภาวะ โลหิตจางหรือไม่ ซึ่งอาจจะเป็นผลจากการมีเลือดออกจากกระเพาะ
        -  การตรวจ Breath test เป็นการตรวจง่าย ๆ โดยตรวจดื่มนน้ำยาที่มีลักษณะเป็น radioactive carbon molecules. ถ้ามีการติดเชื้อสารนี้จะแตกตัวออกและถูกดูดซึมเข้าร่างกาย และจะถูกขับออกมาทางลมหายใจ ซึ่งจะมีเครื่องมือที่ตรวจจับขณะที่คุณหายใจออกมาในถุงที่จัดไว้ให้
        -  การตรวจอุจจาระ ก็เป็นอีกวิธีหนึ่งในการตรวจหาเชื้อตัวนี้เช่นกัน นอกจากนี้ยังสามารถตรวจดูว่ามีเลือดปนในอุจจาระหรือไม่ ซึ่งจะบอกเรื่องการมีเลือดออกในทางเดินอาหารได้
        -  การส่องกล้องตรวจทางเดินอาหารส่วนต้น การตรวจนี้จะทำให้เห็นความผิดปกติที่อยู่ในทางเดินอาหารได้ โดยแพทย์จะส่องกล้องเข้าไปทางปากเพื่อตตรวจดูหลอดอาหาร กระเพาะอาหาร และลำไส้ส่วนต้น ถ้าหากพบว่ามีผิวของทางเดินอาหารที่ผิดปกติแพทย์อาจจะทำการตัดตัวอย่างชิ้นเนื้อเพื่อส่งตรวจทางพยาธิวิทยาต่อไป โดยทั่วไปใช้เวลาเพียง 20-30 นาที แต่อาจจะให้นอนสังเกตอาการสองหรือสามชั่วโมงจากการให้ยา

ผลจากการส่องกล้องจะพบกระเพาะอาหารอักเสบมากที่สุด รองลงมาจะเป็นโรคกรดไหลย้อน
การรักษาโรคกระเพาะอาหารอักเสบ ขึ้นอยู่กับสาเหตุที่ทำให้เป็น ถ้าเกิดจากการใช้ยากลุ่ม NSAIDs หรือ แอลกอฮอล์ อาการจะดีขึ้นภายหลังการหยุดสารยากลุ่มนี้ แต่ถ้าเป็นการอักเสบเรื้อรังจากการติดเชื้อ H.Pyloir จะต้องทำการรักษาโดยการรับประทานยาฆ่าเชื้อโรคร่วมกับยาที่ลดกรดในกระเพาะอาหาร

ยาที่ใช้ในการรักษากรดในกระเพาะอาหาร
กรดในกระเพาะอาหารจะทำให้เกิดการระคายเคืองและการอักเสบของกระเพาะอาหาร ดังนั้นยาหลาย ๆ กลุ่มจะมีฤทธ์ในการลดกรด หรือเคลือบกระเพาะอาหาร ได้แก่
        -  Antacids. เป็นยาที่มีขายตามร้านขายยา อาจจะเป็นยาน้ำ เช่น alum milk หรือยาเม็ด antacid กลุ่มนี้ ทำหน้าที่เพียงทำให้ลดความเป็นกรดในกระเพาะ หรือช่วยเคลือบกระเพาะ และช่วยลดอาการปวดได้
        -  Acid (H2) blockers. เป็นกลุ่มที่เสริมเข้ามาเมื่อยากลุ่มแรกใช้ไม่ได้ผล โดยจะเป็นยาที่ช่วยลดการ สร้างกรดของกระเพาะอาหาร เช่นยา as cimetidine (Tagamet), ranitidine (Zantac) เป็นต้น
        -  ยากลุ่มยับยั้งการปั๊มกรด shut down acid 'pumps.' ยากลุ่มนี้ทางการแพทย์เรียกว่า proton pump inhibitors โดยการป้องกันไม่ให้เซลล์กระเพาะส่งกรดเข้ามาในกระเพาะอาหาร ยากลุ่มนี้จะได้ผลดีขึ้น แต่ราคาก็แพงขึ้นด้วยเช่น omeprazole (losec), lansoprazole (Prevacid), and esomeprazole (Nexium) ถ้าหากมีอาการและเริ่มทานยา ควรจะทานยาต่อเนื่องประมาณ 10-14 เพื่อให้การอักเสบหายเป็นปกติ บางคนจะทานยาเพียงสองสามวัน พอหมดอาการก็จะหยุดยาทันที แต่ถ้าให้ดี ให้การอักเสบหายหมดควร ทานต่อเนื่อง มิฉะนั้นจะมีอาการกลับมาเป็น ๆ หาย ๆ ได้

ยาที่ใช้รักษา H. pylori
ในการรักษาเชื้อ H.Pylori จะใช้ยาปฏิชีวนะ 2 ชนิด ร่วมกับ ยากลุ่ม Proton pump หนึ่งตัว โดยให้ทาน ติดต่อกันเวลาประมาณ 14 วัน ภายหลังการรักษาด้วยวิธีนี้แพทย์จะทำการตรวจอีกครั้งว่ายังมีการติดเชื้ออยู่อีกหรือไม่ เมื่อสามารถจัดการกับการติดเชื้อนี้ได้ โอกาสที่จะกลับมาเกิดแผลในกระเพาะอาหารจะลดลงไปมากถ้าหาก ยังพบว่ามีการติดเชื้ออยู่อีก ก็จำเป็นจะต้องได้รับการรักษาอีกครั้งโดยใช้ยาปฏิชีวนะอีกกลุ่มหนึ่ง ปัญหาทางเดินอาหารอาจจะเกิดจากหลาย ๆ เหตุผล รวมถึงเรื่องพฤติกรรมของตัวคุณเองด้วยโดยทั่วไป

การปฏิบัติตัวของคนที่มีปัญหาทางเดินอาหารควรปฏิบัติตัวดังนี้
        -  ฝึกให้ระเบียบวินัยในการรับประทาน ทานให้ตรงเวลา ทานในปริมาณที่พอเหมาะ ไม่ควรทานอย่างเร่งรีบ ให้ค่อยๆทาน
        - ควรหลีกเลี่ยงการรับประทานของเผ็ด ของหมักดอง พริกน้ำส้ม น้ำอัดลม ผลไม้หรือน้ำผลไม้รสเปรี้ยว เช่น ส้ม มะนาว
        -  งดการดื่มแอลกอฮอล์
        -  งดบุหรี่
        -  หลีกเลี่ยงการใช้ยาแก้ปวด ยกเว้น พาราเซตามอล (paracetamol ทานได้ซึ่งไม่กัดกระเพาะ)
        -  ควบคุมน้ำหนัก ไม่ให้น้ำหนักเกินมาตรฐาน เพราะถ้าหากว่าปล่อยให้อ้วน จะมีปัญหาเรื่องกรดไหลย้อนท้องอืด ท้องผูกได้ง่าย
        -  ออกกำลังกายเป็นประจำ จะช่วยทำให้เรื่องการไหลเวียนเลือด และช่วยให้กล้ามเนื้อลำไส้ทำงานได้ดีขึ้นลดอาการท้องผูกได้
        -  จัดการกับความเครียด ถ้าหากว่ามีความเครียด จะทำให้มีความเสี่ยงในการเกิดหัวใจวาย เส้นเลือดสมองและทำให้ภูมิคุ้มกันของร่างกายต่ำลง และยังเพิ่มการสร้างกรดของกระเพาะอาหาร และทำให้การย่อยอาหารแย่ลงด้วย
        - ไม่ควรนอนทันที หลังรับประทานอาหารเสร็จ
ลองดูแลพฤติกรรมตัวเองเพื่อป้องกันโรคนี้ หากมีอาการควรพบแพทย์ทางเดินอาหารนะครับ

ขอบคุณข้อมูลที่เป็นประโยชน์
We Care